โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 เพื่อเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการกระจายความเจริญก้าวหน้าสู่ภาคใต้ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจชุมชน และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคประกอบการในพื้นที่ โดยการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง (ปีที่ 1-3) จะมีการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยีเพือ่เริ่มดำเนินการด้านการบ่มเพาะและส่งเสริมให้มีการยกระดับเทคโนโลยีของผู้ผลิตระยะที่สอง (ปีที่ 4-6) จะมีการก่อสร้างส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของอุทยานวิทยาศาสตร์ตามความจำเป็ฯและความพร้อมของแต่ละสถาบัน ระยะที่สาม (ปีที่ 7-9) เป็นระยะที่ดำเนินการให้บริการเต็มรุปแบบของอุทยานวิทยาศาสตรืภาคใต้ ซึ่งจะประกอบด้วยการบ่มเพาะเทคโนโลยีการให้บริการพื้นที่เช่าวิจัยสำหรับผู้ประกอบการ การให้บริการโรงงานต้นแบบแก่ภาคธุรกิจ และบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลด้านต่าง ๆ แก่ภาคเอกชน
มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่จะให้มีการดำเนินการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตรืภาคใต้ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในการนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และจัดการผสานทรัยากรพื้นฐานของมหาวิทยาลัย องค์ความรู้จาการัจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะเป็นปัจจัยเอื้อำนวยต่อการประกอบกิจการและการพัฒนาธุรกิจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้ที่เข้ามารับการบ่มเพาะให้สามารถแข่งขันเชิงพาณิชย์ในระดับประเทศ ดดยได้ดำเนินการโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตรNภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University Southern Thailand Science park : WU-STSP ) ขึ้นและให้บริการอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2551 โดยมีหน่วยงานภายใต้โครงการทั้งสิ้น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (TBI) ฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IPMO) ฝ่ายสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) และงานสำนักงาน
วิสัยทัศน์ เป็นนิคมแห่งการวิจัยสู่สังคมผู้ประกอบการที่มีฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ ด้วยการประสานเครือข่ายความร่วมมือด้านความรู้ เทคนิควิชาการ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนานวัตกรรม การจัดการความรู้เพื่อจัดระบบสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเอื้ออำนวยและสร้างสรรค์ให้เกิดผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็งในการประกอบการในพื้นที่ภาคใต้
พันธกิจ การนำเทคโนโลยีนวัตกรรม รวมทั้งผลงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพมาสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ พัฒนากระบวนการจัดความรู้เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ตอนบนกับสถาบันการศึกษาให้มีความใกล้ชิดกัน ทำให้ความรู้ที่เกิดขึ้นจริงจากฐานปฏิบัติและความรู้จากสถาบันการศึกษาเกิดความเชื่อมโยงและเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
ภารกิจหลัก
วิสัยทัศน์ เป็นนิคมแห่งการวิจัยสู่สังคมผู้ประกอบการที่มีฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ ด้วยการประสานเครือข่ายความร่วมมือด้านความรู้ เทคนิควิชาการ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนานวัตกรรม การจัดการความรู้เพื่อจัดระบบสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเอื้ออำนวยและสร้างสรรค์ให้เกิดผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็งในการประกอบการในพื้นที่ภาคใต้
พันธกิจ การนำเทคโนโลยีนวัตกรรม รวมทั้งผลงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพมาสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ พัฒนากระบวนการจัดความรู้เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ตอนบนกับสถาบันการศึกษาให้มีความใกล้ชิดกัน ทำให้ความรู้ที่เกิดขึ้นจริงจากฐานปฏิบัติและความรู้จากสถาบันการศึกษาเกิดความเชื่อมโยงและเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
ภารกิจหลัก
- การประสานและสนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจเอกชน และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ได้ร่วมการวิจัยพัฒนายกระดับเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างมูลค่าและเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง
- ดำเนินกิจกรรมการบ่มเพาะและส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและธุรกิจสร้างสรรค์อย่างครบวงจร เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตบนพื้นฐานการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- ดำเนินกิจกรรมการจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- การประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มีความแข็งแกร่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างยั่งยืน